เป้าหมายและตัวชี้วัดการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4 Roadmap)

เป้าหมายย่อย (Target) 4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิง ทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.1.1 สัดส่วนของเด็ก/เยาวชนใน (ก) ระดับชั้น ป.2 หรือ ป.3 (ข) ป.6 และ (ค) ม.3 ที่มีความสามารถตามเกณฑ์ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย ใน (1) ด้านการอ่านและ (2) ด้านคณิตศาสตร์ หรือการคิดคำนวณ จำแนกตาม เพศ

4.1.2 อัตราการสำเร็จการศึกษา (ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย)


ตัวชี้วัดประเทศไทย


4.1.1 (1) ร้อยละของเด็กในวัย ป.3 ที่มีทักษะการอ่านและการคำนวณขั้นพื้นฐาน

4.1.1 (2) คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) (1) ภาษาไทย (2) คณิตศาสตร์ (3) วิทยาศาสตร์ (4) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (5) ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

4.1.2 อัตราการสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย

เป้าหมายย่อย (Target) 4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนาการดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพเพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.2.1 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีพัฒนาการทางด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และพัฒนาการทางบุคลิกภาพตามวัย จำแนกตามเพศ

4.2.2 อัตราการเข้าเรียนปฐมวัย (อย่างน้อย1 ปี ก่อนถึงเกณฑ์อายุเข้าเรียนประถมศึกษา) จำแนกตามเพศ


ตัวชี้วัดประเทศไทย


4.2.1 ร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีพัฒนาการทางด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และพัฒนาการทางบุคลิกภาพตามวัย จำแนกตามเพศ

4.2.2 อัตราการเข้าเรียนปฐมวัย (อย่างน้อย1 ปี ก่อนถึงเกณฑ์อายุเข้าเรียนประถมศึกษา) จำแนกตามเพศ

เป้าหมายย่อย (Target) 4.3 สร้างหลักประกันให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.3.1 อัตราการเข้าเรียนของเยาวชนและผู้ใหญ่ ทั้งในระบบ นอกระบบการศึกษา รวมทั้งการฝึกอบรมในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จำแนกตามเพศ


ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.3.1 อัตราการเข้าเรียนระดับอาชีวศึกษา (สัดส่วนผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีวศึกษา (ปวช.) : สายสามัญศึกษา)

4.3.2 อัตราการเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

เป้าหมายย่อย (Target) 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางด้านเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่าและการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.4.1 สัดส่วนของเยาวชน/ผู้ใหญ่ที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำแนกตามประเภททักษะ


ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.4.1 สัดส่วนของเยาวชน/ผู้ใหญ่ที่มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำแนกตามประเภททักษะ

เป้าหมายย่อย (Target) 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบาง ซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.5.1 ดัชนีความเท่าเทียมกัน (ผู้หญิง-ผู้ชาย/ในเขต-นอกเขตเมือง/ความมั่งคั่งสูง-ต่ำ และอื่น ๆ เช่น สถานะความพิการ คนพื้นเมือง และคนที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งหากมีข้อมูล) สำหรับทุกตัวชี้วัดที่ในรายการนี้ที่สามารถแยกได้


ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.5.1 (1) ดัชนีความเท่าเทียมทางเพศ จำแนกตามระดับการศึกษา (ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา)

4.5.1 (2) ดัชนีความเท่าเทียมทางความมั่งคั่ง จำแนกตามระดับการศึกษา (ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา)

4.5.3 (3) ดัชนีความเท่าเทียมตามพื้นที่ จำแนกตามระดับการศึกษา (ปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อุดมศึกษา)

เป้าหมายย่อย (Target) 4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ ทั้งชายและหญิงในสัดส่วนสูง สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.6.1 สัดส่วนของประชากรในกลุ่มอายุที่กำหนดมีความรู้ความสามารถสำหรับการทำงานในด้าน ก) การอ่านออกเขียนได้ ข) ทักษะในการคำนวณจำแนกตามเพศ


ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.6.1 (1) อัตราการอ่านออกเขียนได้ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป

4.6.1 (2) อัตราการมีทักษะด้านการคำนวณของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป

4.6.1 (3) อัตราการอ่านออกเขียนได้และมีทักษะด้านการคำนวณของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป

เป้าหมายย่อย (Target) 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.7.1 ระดับการดำเนินการเพื่อบรรจุ (i) การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก และ (ii) การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู และ (ง) การประเมินผลนักเรียน



ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.7.1 ระดับการดำเนินการการกำหนดเรื่อง การศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลกและการจัดการศึกษา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเรื่องหลักใน (ก) นโยบายการศึกษาของประเทศ (ข) หลักสูตร (ค) การศึกษาของครู (หลักสูตรการผลิต/พัฒนาครู) และ (ง) การประเมินผลนักเรียน

4.7.2 การจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน (โครงการ/กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเสริมหลักสูตร)


เป้าหมายย่อย (Target) 4.a สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัยปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับ

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.a.1 สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเภทบริการ (สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึง (a) ไฟฟ้า (b) อินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนการสอน (c) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอน (d) โครงสร้างพื้นฐาน และวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (e) น้ำดื่มพื้นฐาน (f) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานด้านสุขอนามัยที่แบ่งแยกตามเพศ และ (g) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานในการทำความสะอาดมือ (ตามนิยามตัวชี้วัดของ WASH ในเรื่อง น้ำ สุขอนามัย และสุขลักษณะสำหรับทุกคน))


ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.a.1 สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน จำแนกตามประเภทบริการ (สัดส่วนของโรงเรียนที่มีการเข้าถึง) (a) ไฟฟ้า (b) อินเทอร์เน็ตที่ใช้ในการเรียนการสอน (c) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียนการสอน (d) โครงสร้างพื้นฐาน และวัสดุอุปกรณ์ที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย (e) น้ำดื่มพื้นฐาน (f) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานด้านสุขอนามัยที่แบ่งแยกตามเพศ และ (g) สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานใน การทำความสะอาดมือ (ตามนิยามตัวชี้วัดของ WASH ในเรื่อง น้ำ สุขอนามัย และสุขลักษณะสำหรับทุกคน))

เป้าหมายย่อย (Target) 4.b เพิ่มจำนวนทุนการศึกษาทั่วโลกที่ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็กและประเทศในทวีปแอฟริกาเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับ อุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.b.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ที่เป็นทุนการศึกษา จำแนกตามสาขาและประเภทการศึกษา


ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.b.1 ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) ที่เป็นทุนการศึกษา สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด

เป้าหมายย่อย (Target) 4.c เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณวุฒิ รวมถึงการดำเนินการผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศในการฝึกอบรมครูในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และรัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ภายในปี พ.ศ. 2573

ตัวชี้วัด (Global Indicator)

4.c.1 สัดส่วนของครูที่มีคุณวุฒิเหมาะสมในการจัดการศึกษาพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา สัดส่วนของครูในระดับ (a) ก่อนประถมศึกษา (b) ประถมศึกษา (c) มัธยมศึกษาตอนต้น และ (d) มัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้ซึ่งอย่างน้อยได้รับการฝึกอบรม (เช่น การฝึกอบรมการสอน) ซึ่งต้องดำเนินการก่อนหรือระหว่างช่วงที่ทำการสอนในระดับที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ


ตัวชี้วัดประเทศไทย

4.c.1 สัดส่วนของครูที่มีคุณวุฒิเหมาะสมในการจัดการศึกษาพื้นฐาน จำแนกตามระดับการศึกษา ผู้ซึ่งอย่างน้อยได้รับการฝึกอบรม (เช่น การฝึกอบรมการสอน) ซึ่งต้องดำเนินการก่อนหรือระหว่างช่วงที่ทำการสอนในระดับที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ

(1) ก่อนประถมศึกษา (2) ประถมศึกษา (3) มัธยมศึกษาตอนต้น (4) มัธยมศึกษาตอนปลาย